จากดอกไม้ที่ถูกผลัดทิ้ง สู่ความจริงที่ถูกลบเลือน..
อนึ่ง บทบาทของภาพถ่ายคือการมองประวัติศาสตร์ผ่านสายตาของผู้ถือกล้อง
เหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์ผ่านไปกว่า 45 ปี แต่เรายังติดอยู่ในห้วงเวลาของความผันผวนทางประชาธิปไตย เหตุการณ์สูญเสียดังกล่าวเป็นอาชญากรรมโดยรัฐ ที่สร้างรอยแผลให้กับผู้สูญเสีย ครอบครัว มิตรสหายและประเทศอย่างไม่มีวันจางหายและจะต้องไม่มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีก
contact sheet เหล่านี้คาดว่าถูกบันทึกระหว่างช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ไปจนถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยปรากฎภาพเหตุการณ์และกิจกรรม เช่น กิจกรรม และการชุมนุมอื่น ๆ ของนักศึกษา โดยเราจะเห็นอุณหภูมิทางการเมืองที่ร้อนระอุผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น
ภาพบางส่วนมีร่อยรอยของเทปเป็นไปได้ว่าครั้งหนึ่งเคยถูกจัดแสดง และภาพบางส่วนมีร่องรอยของตราประทับ “สมบัติของชุมนุมถ่ายภาพ” ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าภาพถ่ายเหล่านี้ถูกถ่ายโดยใครและเคยถูกนำจัดแสดงมาก่อนหรือไม่
ร่วมชมภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ ที่ขีดเขียนเรื่องราวในห้วงหนึ่งผ่านการบันทึกภาพถ่าย ว่าเคยเกิดการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยขึ้น โดยเหล่านักศึกษา ชาวบ้าน และใครอีกหลาย ๆ คน และยังเป็นการแสดง “ส่วนหนึ่ง” ของความโหดร้ายที่อำนาจไม่ชอบธรรม ได้กระทำไว้ผ่าน contact sheet ของชมรมที่ไม่เคยเผยแพร่ผ่านทางออนไลน์มาก่อน พร้อมดาวโหลดรูปที่สแกนด้วยความละเอียดสูง 375 ล้านพิกเซล ได้ที่ปุ่มด้านล่าง
“ภายใต้หยดน้ำยาที่ล้างและอัดขยายภาพ
มีหยาดเลือดของเพื่อนที่ถูกขูดรีด และถูกกรีดคั้นโดยเหล่าเผด็จการผสมอยู่”
*ไม่อนุญาตให้นำรูปไปใช้ในทุกกรณีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางชมรม
“นาย [ข้อความหายไป] ญมาก [ข้อความหายไป] เสียชีวิตที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์และมีคนเอาธงชาติมาชุบเลือดจากศพขึ้นโบกอย่างท้าทาย”…
ร่วมชมภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ ที่ขีดเขียนเรื่องราวในห้วงหนึ่งผ่านการบันทึกภาพถ่าย ว่าเคยเกิดการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยขึ้น โดยเหล่านักศึกษา ชาวบ้าน และใครอีกหลาย ๆ คน…
สิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของโฟโต้คือ ชุมนุมนี้เป็นสถานที่ซึ่งทำให้คนที่ได้เข้ามาอยู่ มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก มากจนคนในโฟโต้เองคิดว่า…
สำหรับบ้านเรา การแข่งขันที่อยู่ในสายตามีมากมาย เช่น โอลิมปิก ฟุตบอลโลก อาเซียนเกมส์ และแน่นอนว่า…