“ธรรมชาติ” สิ่งไร้ค่าของทุนนิยม
เมื่อปอดของโลกถูก “ควบคุม” ให้ทำลาย
11 สิงหาคม 2019
นาซ่าเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมแสงให้เห็นถึงกลุ่มควันขนาดใหญ่ปกคลุมผืนป่าแอมะซอน
*ภาพประกอบบางภาพไม่ใช่ภาพจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
เรียบเรียง/แปล
กวิน สิริจันทกุล
ป่าฝนเขตอบอุ่นขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ผืนป่าแห่งนี้ผลิตออกซิเจนกว่า 20% ของออกซิเจนทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า แมลง และพรรณไม้ต่าง ๆ กว่าล้านสายพันธุ์ ผืนป่าแห่งนี้กำลังถูกเผาทำลาย มอดไหม้มาแล้วกว่าสามอาทิตย์ และยังขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นเรื่องแปลกที่สื่อกระแสหลัก ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ ไม่มีการตีพิมพ์ข่าวนี้ในช่วงสามอาทิตย์ที่ผ่านมา
ข้อมูลจากสำนักข่าวต่างประเทศ นักวิชาการเห็นพ้องกันว่าไฟครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากมนุษย์ โดยให้เหตุผลหลักมา 2 ข้อ
1 ป่าแอมะซอนเป็นป่าฝนที่มีความชื้นมาก ไฟป่าเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็อาจจะมีบ้างในช่วงหน้าแล้ง โดยทั่วไปไฟมักจะไม่รุนแรง รวมถึงช่วงนี้ไม่มีเหตุสภาพอากาศที่เป็นใจต่อการเกิดไฟป่าตามธรรมชาติ
2 ไฟนิยมใช้เผาไร่ทำเกษตรกรรมในพื้นที่รอบป่าอะเมซอน อีกทั้งยังสามารถเป็นวิธีบุกรุกป่าได้อย่างถูกกฎหมายอีกด้วย
ผืนป่าแอมะซอนถูกนักอนุรักษ์จับตามองมากขึ้นหลังจากประธานาธิบดี Jair Bolsonaro เข้ามาบริหาร “The Amazon belongs to Brazil and European countries can mind their business because they’ve already destroyed their our environment” คำกล่าวของ Bolsonaro
ก่อนหน้ารับตำแหน่ง เขาเคยได้ให้คำสัญญาไว้ว่าจะนำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาให้กับประเทศของตน อีกทั้งเคยกล่าวว่าภาพดาวเทียมแสดงการบุกรุกป่าแอมะซอนนั้นเป็น “ของปลอม”
การปกป้องป่าแอมะซอนนั้นเป็นหัวใจของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของบราซิลมากว่าสองทศวรรษ ก่อนที่ประธานาธิบดี Jair Bolsonaro จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงและหนุนกลุ่มทุนเหมืองแร่และการเกษตร พื้นที่หลายแห่งของป่าอะเมซอนถูกแปลงเปลี่ยนเป็นเหมืองและพื้นที่เกษตรกรรมนั้นเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ขนาดใหญ่ ใหญ่จนสามารถเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียม
ภายในสองเดือนแรกของปี 2019 มีการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มขึ้น 245% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนสภาพเป็นเหมืองแร่และเกษตรกรรมไปแล้วกว่า 3700 ตารางกิโลเมตร
ขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพมหานครถึงสองเท่า !!
อีกทั้งราคาที่ดินแถบแอมะซอนยังพุ่งขึ้นถึง 200 เท่าจากเดิม
The National Institute for Space Research (Inpe) รายงานว่าในช่วง เดือนมกราคมถึงสิงหาคมของปีนี้ (2019) สามารถตรวจจับจุดไฟไหม้ หรือ red spot จากดาวเทียมได้มากกว่า 72,000 จุด ในพื้นที่บริเวณผืนป่าแอมะซอน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการตรวจสอบมาตั้งแต่ปี 2013 พวกเขาอ้างว่าได้ตรวจพบไฟป่ามากกว่า 9,500 จุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ภาพนี้ถ่ายโดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ @ch1minssi เวลา 15.00 นาฬิกา ที่ เซาเปาลู เมืองหลวงของบราซิลที่ถูกปกคลุมไปด้วยควันไฟที่ลอยมาไกลกว่า 2700 กิโลเมตร
อนาคตของที่นี่จะเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้
อนาคตของโลกใบนี้ก็เช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
roguerocket.com
globalriskinsight.com
theguardian.com
nytimes.com
newscientist.com
earthobservatory.nasa.gov
bbc.com